วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

การประหยัดพลังระบบเเสงสว่าง

ไฟฟ้าแสงสว่าง

  • ควรปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่มีคนอยู่ในห้อง
  • เลือกใช้หลอดไฟที่มีกำลังวัตต์เหมาะสมกับการใช้งาน
  • สำหรับบริเวณที่ต้องการความสว่างมาก ภายในอาคารควรเลือกใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ ส่วนภายนอกอาคารควรเลือกใช้หลอดไอโซเดียม และหลอดไอปรอท
  • ควรใช้ฝาครอบดวงโคมแบบใสหากไม่มีปัญหาเรื่องแสงจ้า และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ
  • พิจารณาใช้โคมไฟตั้งโต๊ะสำหรับงานที่ต้องการแสงสว่างจุดเดียว ทีวี วิทยุ ปิดเครื่องทุกครั้งเมื่อไม่ได้ดู
  • ควรถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้เป็นเวลานาน
  • ควรเลือกใช้โคมไฟแบบสะท้อนแสงแทนแบบเดิมที่ใช้พลาสติกปิด 
    ควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ แทนหลอดไส้ ซึ่งมีคำแนะนำในการใช้ดังนี้
  • หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบผอม ขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ มีความสว่างเท่ากับ หลอด 20 วัตต์ และ 40 วัตต์แต่ประหยัดไฟกว่า และสามารถใช้แทนกันได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์
  • หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์มี 2 ชนิด คือ ชนิดมีบัลลาสต์ภายในสามารภใช้แทนหลอดกลมแบบเกลียวได้ ส่วนหลอดที่มีบัลลาสต์ภายนอก จะมีขาเสียบเพื่อต่อกับตัวบัลลาสต์ที่อยู่ภายนอก

เตารีด

  • เตารีดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน ซึ่งในการรีดแต่ละครั้งจะกินไฟมากดังนั้นจึงควรรู้จัดวิธีใช้อย่างประหยัดและปลอดภัย
  • ก่อนอื่นควรตรวจสอบดูว่าเตารีดอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานหรือไม่ เช่น สาย ตัวเครื่อง เป็นต้น
  • ตั้งปุ่มปรับความร้อนให้เหมาะสมกับชนิดของผ้า
  • อย่าพรมน้ำจนเปียกแฉะ
  • ดึงเต้าเสียบออกก่อนจะรีดเสร็จประมาณ 2-3 นาที แล้วรีดต่อไปจนเสร็จ
  • ควรพรมน้ำพอสมควร
  • ถอดปลั๊กออกเมื่อไม่ได้ใช้
  • ควรรีดผ้าคราวละมากๆ ติดต่อกันจนเสร็จ
  • ควรเริ่มรีดผ้าบาง ๆ ก่อน ขณะเตารีดยังไม่ร้อน
  • ควรดึงปลั๊กออกก่อนรีดเสร็จเพราะยังร้อนอีกนาน
  • ควรซักและตากผ้าโดยไม่ต้องบิด จะทำให้รีดง่ายขึ้น

พัดลม

  • เปิดความเร็วลมพอควร
  • เปิดเฉพาะเวลาใช้งาน
  • ควรเปิดหน้าต่างใช้ลมธรรมชาติแทนถ้าทำได้

เครื่องเป่าผม

  • เช็ดผมก่อนใช้เครื่อง
  • ควรขยี้และสางผมไปด้วยขณะเป่า

เครื่องดูดฝุ่น

  • ควรเอาฝุ่นในถุงทิ้งทุกครั้งที่ใช้แล้วจะได้มีแรงดูดดี ไม่เปลืองไฟ 

ตู้เย็น ตู้แช่

  • ตั้งอุณหภูมิพอสมควร
  • นำของที่ไม่ร้อนใส่ตู้เย็น
  • ปิดประตูตู้เย็นทันทีเมื่อนำของใส่หรือออก
  • ปิดประตูตู้เย็นให้สนิท
  • หากยางขอบประตูรั่วให้รีบแก้ไข
  • เลือกตู้เย็นหรือตู้แช่ชนิดมีประสิทธิภาพสูง
  • ควรใช้ตู้เย็นขนาดเหมาะกับครอบครัว
  • ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากแหล่งความร้อน ให้หลังตู้ห่างจากฝาเกิน 15 ซ.ม. เพื่อระบายความร้อนได้สะดวก ไม่เปลื่องไฟฟ้า
  • ควรหมั่นทำความสะอาดแผงระบายความร้อน
  • ควรเก็บเฉพาะอาหารเท่าที่จำเป็น

การเลือกซื้อตู้เย็น, ตู้แช่ มีคำแนะนำให้ท่านพิจารณาก่อนซื้อ ดังนี้

  • เลือกขนาดให้พอเหมาะกับความต้องการของครอบครัว
  • ตู้เย็นแบบประตูเดียวกินไฟน้อยกว่าแบบ 2 ประตู
  • ควรวางตู้เย็นให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะกับจำนวนของที่ใส่
  • อย่าเปิดตู้เย็นทิ้งไว้นาน ๆ และอย่านำของร้อนมาแช่
  • หมั่นละลายน้ำแข็งเมื่อเห็นว่าน้ำแข็งเกาะหนามาก

หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

  • หากใช้อย่างถูกต้องสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มาก ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้
  • ควรหุงข้าวให้พอดีกับจำนวนผู้รับประทาน
  • ควรถอดเต้าเสียบออกเมื่อข้าวสุกแล้ว
  • อย่าทำให้ก้นหม้อตัวในเกิดรอยบุบ จะทำให้ข้าวสุกช้า
  • หมั่นตรวจบริเวณแท่นความร้อนในหม้อ อย่าให้เม็ดข้าวเกาะติด จะทำให้ข่าวสุกช้าและเปลืองไฟ
  • ใช้ขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว
  • ควรดึงปลั๊กออกเมื่อข้าวสุกพอแล้ว ปัจจุบันหม้อหุงข้าวไฟฟ้ามีใช้กันมาก หม้อต้มน้ำ หม้อต้มกาแฟ
  • ใส่น้ำให้มีปริมาณพอควร
  • ควรปิดฝาให้สนิทขณะต้ม
  • ควรปิดสวิตช์ทันทีเมื่อน้ำเดือด

เครื่องสูบน้ำ

เครื่องสูบน้ำเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกอย่างยิ่งซึ่งใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการสูบน้ำไปยังถังเก็บหรือ
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีวิธีการใช้อย่างประหยัดดังนี้

  • ควรติดตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำในถังและหมั่นปรับตั้งให้ถูกต้องเสมอ
  • ติดตั้งท่อน้ำให้มีขนาดเหมาะสมกับขนาดปั้ม
  • ควรตรวจแก้ไขจุดรั่วในระบบน้ำ
  • ควรใช้น้ำอย่างประหยัด
  • ควรติดตั้งถังเก็บน้ำในตำแหน่งที่ไม่สูงเกินไป
  • ควรติดตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำในถังเก็บ และดูแลรักษาให้ทำงานได้อยู่เสมอ
  • ตรวจสอบรอยรั่วตามข้อต่อต่าง ๆ หากพบควรรับซ่อมแซมแก้ไขโดยเร็ว
  • หากตัวถังเก็บน้ำไม่มีอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำ ควรดูแลอย่าให้น้ำล้นถัง
  • เครื่องสูบน้ำแบบใช้สายพานต้องตรวจสอบไม่ให้หย่อนหรือตึงเกินไป

เครื่องซักผ้า

  • ควรใส่ผ้าแต่พอเหมาะ ไม่น้อยเกินไป และไม่มากจนเกินกำลังเครื่อง
  • ควรใช้น้ำเย็นซักผ้า ส่วนน้ำร้อนให้ใช้เฉพาะกรณีรอยเปื้อนไขมันมาก
  • ควรใส่ผ้าที่จะซักตามคำแนะนำของแต่ละเครื่อง
  • หากมีผ้าต้องซัก 1-2 ชิ้น ควรซักด้วยมือ
  • หากมีแสงแดดไม่ควรใช้เครื่องอบแห้ง ควรจะนำเสื้อผ้าที่ซักเสร็จมาตากแดด

มอเตอร์ไฟฟ้า

  • ควรตรวจสอบแก้ไข และอัดจารบีตามวาระ
  • ปรับปรุงสายพานมอเตอร์ เช่น ปรับความตึงสายพาน เปลี่ยนสายพานใหม่
  • พิจารณาเปลี่ยนระบบควบคุมความเร็วของมอเตอร์เป็นระบบอีเล็กทรอนิกส์

เตาอบ เตาไฟฟ้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ ใช้ความร้อนมาทำให้อาหารสุก หากให้ความร้อนสูญเสียไปโดยการใช้ไม่ถูกวิธี ทำให้อาหารสุกช้าลง กินกระแสไฟเพิ่มขึ้นจึงมีข้อแนะนำการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้อย่างประหยัดคือ
  • ควรเตรียมเครื่องปรุงในการประกอบอาหารให้พร้อมก่อนใช้เตา
  • ควรใช้ภาชนะก้นแบนและเป็นโลหะจะทำให้รับความร้อน จากเตาได้ดี
  • ในการหุ่งต้มอาหารควรใส่น้ำให้พอดีกับจำนวนอาหาร
  • ในระหว่างอบอาหารอย่าเปิดตู้อบบ่อย ๆ
  • ถอดเต้าเสียบทันทีเมื่อปรุงอาหารเสร็จเรียบร้อย
  • ควรหรี่ไฟและปิดฝาหม้อในกรณีที่ต้องเคี่ยว
  • ควรเตรียมเครื่องปรุงให้พร้อมก่อนใช้เตา
  • ควรใช้เตาชนิดมองไม่เห็นขดลวดซึ่งไม่เสียความร้อน สูญเปล่ามาก และปลอดภัยกว่า
  • ควรใช้พาหนะก้นแบนขนาดพื้นที่ก้นเหมาะกับพื้นที่หน้าเตาและใช้พาหนะที่มีเนื้อโลหะรับความร้อนได้ดี หากเป็นไปได้ให้ใช้กับเตาไฟฟ้าซึ่งมีขายทั่วไปอยู่แล้ว
  • ควรปิดฝาภาชนะให้สนิทขณะตั้งเตา

เครื่องทำน้ำอุ่น

  • ปรับปุ่มความร้อนให้เหมาะสมกับร่างกาย
  • ปิดวาล์วทันทีเมื่อไม่ใช้งาน
  • หากมีรอยรั่วควรรีบทำการแก้ไขทันที
  • ต่อสายลงดินในจุดที่จัดไว้ให้ของเครื่องทำน้ำอุ่น
  • ปิดสวิชต์ไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำอุ่นเมื่อไม่ใช้
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่อง
  • ใช้เครื่องขนาดพอสมควร
  • ปรับปรุงความร้อนไม่ให้ร้อนเกินความจำเป็น
  • ปิดก๊อกทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
  • ในฤดูร้อนไม่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน หรือน้ำอุ่น
  • ควรใช้น้ำอุ่นที่ได้ความร้อนจากแสงอาทิตย์  

เครื่องปรับอากาศ

การใช้เครื่องปรับอากาศให้มีความเย็นที่สบายต่อร่างกาย จะประหยัดค่าไฟฟ้าอย่างได้ผล ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
  • ปิดเครื่องทุกครั้งเมื่อไม่อยู่
  • ปิดประตูหน้าต่างและผ้าม่านกันความร้อนจากภายนอก
  • ตั้งอุณหภูมิไม่ควรต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส
  • ควรใช้เครื่องขนาดเหมาะสมกับขนาดห้อง
  • ควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง
  • ควรติดตั้งเครื่องระดับสูงพอเหมาะ และให้อากาศร้อนระบายออกด้านหลังเครื่องได้สะดวก
  • ควรบุผนังห้อง และหลังคาด้วยฉนวนกันความร้อน
  • ควรบำรุงรักษาเครื่องให้มีสภาพดีตลอดเวลา
  • ควรหมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ และแผงระบายความร้อน
  • ในฤดูหนาวขณะที่อากาศไม่ร้อนมากเกินไป ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ
  • ปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิดไม่ให้ความเย็นรั่วไหล
  • พิจารณาติดตั้งบังแสงหรือกันแดด เพื่อลดภาระการทำงานของเครื่อง 
  • ควรเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสมกับขนาดของห้อง
  • ควรใช้ผ้าม่านกั้นประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอก
  • ตั้งปุ่มปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อร่างกาย(ประมาณ 26 องศาเซลเซียส)
  • หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่องปรับอากาศ
ที่มาhttps://www.pea.co.th

หลอดไฟ ธรรมดา

หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา
หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา
หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา หรือ หลอดความร้อน หรือ หลอดไส้ (อังกฤษincandescent light bulb, incandescent lamp หรือ incandescent light globe) ให้แสงสว่างโดยการให้ความร้อนแก่ไส้หลอดที่เป็นลวดโลหะกระทั่งมีอุณหภูมิสูงและเปล่งแสง หลอดแก้วที่เติมแก๊สเฉื่อยหรือเป็นสุญญากาศป้องไม่ให้ไส้หลอดที่ร้อนสัมผัสอากาศ ในหลอดฮาโลเจน กระบวนการทางเคมีคืนให้โลหะเป็นไส้หลอด ซึ่งขยายอายุการใช้งาน หลอดไฟฟ้านี้ได้รับกระแสไฟฟ้าจากเทอร์มินอลต่อสายไฟ (feed-through terminal) หรือลวดที่ฝังในแก้ว หลอดไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้ในเต้ารับซึ่งสนับสนุนหลอดไฟฟ้าทางกลไกและเชื่อมกระแสไฟฟ้าเข้ากับเทอร์มินัลไฟฟ้าของหลอด
หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาผลิตออกมาหลายขนาด กำลังส่องสว่าง และอัตราทนความต่างศักย์ ตั้งแต่ 1.5 โวลต์ถึงราว 300 โวลต์ หลอดประเภทนี้ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์ควบคุมภายนอก มีค่าบำรุงรักษาต่ำ และทำงานได้ดีเท่ากันทั้งไฟฟ้ากระแสสลับหรือกระแสตรง ด้วยเหตุนี้ หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาจึงใช้กันอย่างกว้างขวางในครัวเรือนและไฟฟ้าใช้ในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนไฟฟ้าแบบพกพา อย่างเช่น ไฟตั้งโต๊ะ ไฟหน้ารถยนต์ และไฟฉาย และไฟฟ้าสำหรับตกแต่งและโฆษณา
บ้างใช้ประโยชน์จากใช้ความร้อนที่เกิดขึ้นจากไส้หลอดของหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา อาทิ เครื่องฟักไข่ กล่องฟักไข่สำหรับสัตว์ปีก ไฟความร้อนสำหรับสวนจำลองสภาพแวดล้อม (vivarium) ของสัตว์เลื้อยคลาน[1][2] การให้ความร้อนอินฟราเรดในกระบวนการให้ความร้อนและอบแห้งในอุตสาหกรรม ความร้อนส่วนเกินนี้เพิ่มพลังงานที่ต้องใช้ในระบบปรับอากาศของอาคาร
หลอดไฟฟ้าแบบอื่นค่อย ๆ แทนที่การใช้งานของหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาหลายด้าน อาทิ หลอดฟลูออเรสเซนต์, หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ), หลอดฟลูออเรสเซนต์แคโทดเย็น, หลอดอัดก๊าซความดันสูง และไดโอดเปล่งแสง เทคโนโลยีที่ใหม่กว่าเหล่านี้พัฒนาอัตราส่วนแสงที่มองเห็นได้ต่อการผลิตความร้อน เขตอำนาจบางแห่ง เช่น สหภาพยุโรป อยู่ในระหว่างกระบวนการเลิกใช้หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและหันไปใช้หลอดไฟที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานมากกว่า

ประวัติศาสตร์

ในการตอบคำถามว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์หลอดไส้ นักประวัติศาสตร์โรเบิร์ต ฟรีเดล และพอล อิสราเอล ทำรายการนักประดิษฐ์หลอดไส้ 22 คน ก่อนโจเซฟ สวอน และโทมัส เอดิสัน[3] พวกเขาสรุปว่ารุ่นของเอดิสันนั้นล้ำหน้ากว่าของคนอื่น เพราะองค์ประกอบสามปัจจัย ได้แก่ (1) วัสดุเปล่งแสงที่มีประสิทธิภาพ, (2) สุญญากาศที่สูงกว่าที่คนอื่น ๆ สามารถทำสำเร็จ และ (3) ความต้านทานไฟฟ้าที่สูงซึ่งทำให้การแจกจ่ายพลังงานจากแหล่งกลางทำงานได้อย่างประหยัด
ค.ศ. 1802 ฮัมฟรี เดวี ได้ประดิษฐ์สิ่งที่ในขณะนั้นเป็นแบตเตอรีไฟฟ้าที่ทรงพลังที่สุดในโลกที่ราชสมาคมแห่งบริเตนใหญ่ ซึ่งเขาสร้างหลอดไส้โดยส่งกระแสไฟฟ้าผ่านแพลทินัมแถบบาง ซึ่งโลหะชนิดนี้ถูกเลือกเพราะมีจุดหลอมเหลวสูงอย่างยิ่ง แต่หลอดไส้นี้ไม่สว่างพอหรือทำงานได้นานพอที่จะนำไปใช้ได้จริง แต่ก็มีมาก่อนเบื้องหลังความพยายามการทดลองนับครั้งไม่ถ้วนอีก 75 ปีต่อมา[4]
โจเซฟ สวอนและโทมัส เอดิสันนั้นเป็นบุคคลแรก ๆ ที่ทำหลอดไส้เป็นธุรกิจ โดยโทมัส เอดิสันเริ่มการวิจัยอย่างจริงจังในการพัฒนาหลอดไส้ที่ใช้การได้ใน ค.ศ. 1878 เอดิสันจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์สำหรับ "การปรับปรุงหลอดไฟฟ้า" เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1878[5] หลังจากทดลองหลายครั้งด้วยไส้หลอดที่ทำจากแพลทินัมและโลหะอื่น เอดิสันได้หันกลับไปใช้ไส้คาร์บอน การทดลองที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1879[6] และใช้งานได้ 13.5 ชั่วโมง เอดิสันยังคงพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว และจนถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1879 จดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาสำหรับหลอดไฟฟ้าที่ใช้ "ไส้คาร์บอนหรือแถบขดและเชื่อม ... กับสายส่งแพลตินา"[7] แม้สิทธิบัตรนั้นจะอธิบายหลายหนทางในการสร้างไส้คาร์บอนรวมทั้ง "เส้นใยฝ้ายและลินิน เศษไม้ กระดาษที่ขดในหลายวิธี"[7] แต่กระทั่งอีกหลายเดือนต่อมาหลังได้รับสิทธิบัตรนั้นแล้ว เอดิสันและทีมของเขาจึงค้นพบว่า ไส้ไม้ไผ่ที่เปลี่ยนเป็นคาร์บอนสามารถใช้งานได้นานเกิน 1,200 ชั่วโมง

ที่มา